โรงเรียนน้ำพองศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศีกษามัธยมศึกษาขอนแก่น
นโยบายที่กำหนดขึ้นในสังคมหรือองค์การใด ๆ นั้น ก็เพื่อเป็นแนวคิดในการดำเนินงานเพื่อสนองความต้องการหรือความประสงค์ของบุคคล ในองค์การนั้น และ ลักษณะของนโยบายก็จะสอดคล้องกับความเชื่อและลัทธิการปกครองขององค์การนั้น องค์การที่มีระบอบการปกครองของประชาธิปไตยนโยบายที่กำหนดขึ้นมักจะได้ข้อมูลและมีการกลั่นกรองข้อมูลจากบุคคลหลายฝ่าย และลัทธิการปกครองแบบอัตตาธิปไตยนโยบายท่กำหนดมักจะทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการของบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกลุ่มชนชั้นปกครอง และข้อมูลของนโยบายมักจะได้จากเหตุผลของคนกลุ่มเดียว อย่างไรก็ตามไม่ว่าสังคมหรือองค์การจะมีลักษณะการปกครองหรือรูปแบบในการบริหารเป็นเช่นไร การกำหนดนโยบายย่อมต้องมีขั้นตอนและเป็นกระบวนการ อันนำมาซึ่งนโยบาย กุศโลบายในการดำเนินงานที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ของการบริหารและนโยบายท่กำหนดขึ้นจะต้องเป็นที่รับทราบและยอมรับจากบุคคล ฝ่าย ภายในหน่วยงานต้องได้รับการผสมผสานเข้าด้วยกันให้เป็นแนวทางกว้าง ๆ เพื่อการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ที่เราเรียกว่านโยบายในการบริหารงาน
นโยบาย(Policy) และกุศโลบาย(Strategy) เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันมากเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความตั้งใจของผู้บริหารว่าควรจะทำ หรือไม่ควรทำกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใด ในอนาคต หรือ ในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น และเป็นแนวคิดอันจะนำไปสู่การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพโดยเป็นที่ยอมรับกันว่าหน้าที่อันสำคัญประการแรกของผู้บริหาร คือการกำหนดนโยบายหรือกุศโลบายในการบริหารงาน ซึ่งนโยบายและกุศโลบายจะเป็นตัวที่ให้ทิศทางและข้อมูลในการวางแผน กล่าวคือ
ก.นโยบายและกุศโลบาย ยิ่งได้รับการพัฒนา หรือจัดทำโดยความละเอียดรอบคอบและเป็นที่เข้าใจโดยชัดเจนมากเพียงใด ย่อมทำให้การวางแผนเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากเพียงนั้น
ข.นโยบายและกุศโลบาย เป็นยุทธการ (Tactics) อันสำคัญในการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
ค.นโยบายและกุศโลบายมีผลอันสำคัญต่อการบริหารงานทุกชนิดและทุกลักษณะงาน
ในการจัดองค์การจะสามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม เมื่อมีการแบ่งงานกันตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และทุกคนรู้จักงานและหน้าที่ของตน ปฏิบัติงานภายในขอบเขตที่องค์การมอบหมายมา แต่งานที่ดำเนินการจะสามารถสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารที่มีอำนาจในการมอบหมายอำนาจหน้าที่นั้นจะต้องกำหนดความรับผิดชอบของบุคคลแต่ละคนในการปฏิบัติงานอีกด้วย
อำนาจหน้าที่ (Authority) หมายถึง สิทธิอันชอบธรรมที่ได้รับมอบหมายมาให้สั่งบุคคลอื่นปฏิบัติตามที่ตนต้องการได้ ส่วนใหญ่แล้วผู้บริหารระดับสูงจะมีการมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับต่อไปเมื่อมีการสั่งงานเพื่อให้บุคคลนั้นสามารถปฏิบัติงาน ส่วนมากแล้วอำนาจหน้าที่จะต้องมีอำนาจในการสั่งการและการตัดสินใจควบคู่กันไปด้วย โดยรู้จักการสั่งการ คือมอบหมายงานให้กับใต้ผู้บังคับบัญชาทำงานอย่างต่อเนื่อง และตัดสินใจ ในลักษณะงานที่อยู่ภายในขอบเขตแห่งอำนาจตน อำนาจหน้าที่เป็นอำนาจที่บุคคลผู้มีอยู่ได้รับมอบหมายมาโดยถูกต้องตามกฎหมาย และขณะเดียวกันก็มีสิทธิให้รางวัลและลงโทษผู้ที่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่นั้นได้อีกด้วย
อำนาจหน้าที่ (Authority) แตกต่างจากอำนาจ (Power) คือ อำนาจหน้าที่เป็นสิทธิที่ได้รับมอบหมายมาโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่อำนาจเป็นสิ่งที่บุคคลนั้นสร้างขึ้นมาเองและทำให้บุคคลอื่นยอมรับเพื่อที่จะปฏิบัติตาม อำนาจเกิดในด้านบวกหรือด้านลบก็ได้
ความรับผิดชอบ (Responsibility) เป็นภาระผูกพันของบุคคลในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยบุคคลจะต้องรับผิดชอบในการทำงานเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ในองค์การที่มีการวางโครงสร้างแบบเป็นทางการจะมีการกำหนดความรับผิดชอบของบุคคลที่ทำหน้าที่ในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างชัดเจนและให้อำนาจหน้าที่ (Authority) ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยดี อย่างไรก็ตามปัญหาของความสมดุลกันระหว่างความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ก็มีมากขึ้นในขณะที่องค์การขยายใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีขอบเขตของอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในส่วนของตนเพิ่มขึ้นด้วย จึงมีความสับสนในเรื่องของงาน ตลอดจนปัญหาของตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดแบ่งความรับผิดชอบในกิจกรรมต่างๆขององค์การนั้น ควรคำนึงถึงปัจจัย ต่อไปนี้
การจัดการปกครอง (Governance) เป็นคำศัพท์ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงบทบาทของรัฐช่วงทศวรรษ 1990 เป็นการวางแนวทางและจัดความสัมพันธ์ในการปกครองของภาครัฐใหม่เพื่อให้ระบบการเมืองเปิดกว้าง และกระจายอำนาจมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ตัวแสดงนอกภาครัฐสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองมากยิ่งขึ้น และเปลี่ยนแปลงจากอำนาจที่รวมศูนย์อยู่ที่รัฐบาล ให้กระจายออกไปตามท้องถิ่นต่างๆ เพื่อให้เกิดองค์กรท้องถิ่นที่ปกครองตัวเอง และลดขนาดของภาครัฐให้เล็กลงเพื่อความคล่องตัว (เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา, 2550: 134-135
การวางหลักการจัดการปกครอง (governance) เข้ามาแทนที่แนวคิดว่าด้วยการปกครอง (government) โดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ 6 ด้านหลักคือ
การจัดการปกครองเป็นหลักการที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยในชื่อ “ธรรมาภิบาล” (good governance) หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2539-40 จากข้อบังคับในการกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) และนำมาใช้ปฏิบัติผ่านกฎหมายหลักคือรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี พ.ศ. 2540 โดยต้องการให้ภาครัฐบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้จากองค์กรอิสระ และเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน อีกทั้งยังต้องส่งเสริมการกระจายอำนาจด้วย
ความเข้าใจที่แตกต่างกันของคำว่าธรรมาภิบาล สามารถแยกได้เป็น 3 สำนัก คือ
ธรรมาภิบาลขององค์การระหว่างประเทศ ในฐานะเครื่องมือในการพัฒนา ทั้งการมีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ สิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม การพัฒนาอย่างยั่งยืน และหลักตลาดเสรี
ธรรมาภิบาลของนักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ มองว่าเป็นแนวทางของรัฐในศตวรรษ 21 ที่จำเป็นต้องทำงานในแนวระนาบมากขึ้น ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย และปฏิสัมพันธ์กับภาคส่วนทางธุรกิจและสังคมมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการทำงานร่วมกันและการตรวจสอบ
ธรรมาภิบาลในฐานะมิติด้านการบริหาร จะเน้นในเรื่องของความรับผิดชอบต่อบรรษัทของผู้บริหาร ที่จำเป็นต้องมีให้กับผู้ถือหุ้น นิยามลักษณะนี้หลายครั้งเชื่อมโยงกับคำว่าบรรษัทภิบาล (Corporate governance)[3]
การจัดการปกครองที่ดี (good governance) หรือ ธรรมาภิบาล ที่ถูกแปลมาในภาษาไทยนั้นอาจถูกเรียกแตกต่างกันออกไปว่าเป็น “ธรรมารัฐ” (เช่นใน “ธรรมรัฐแห่งชาติ” ของธีรยุทธ บุญมี หรือ “ธรรมรัฐกับสังคมไทย” ของอานันท์ ปันยารชุน หรือ “แนวคิดและวาทกรรมว่าด้วยธรรมรัฐแห่งชาติ” ของนฤมล ทับจุมพล) หรือ “ธรรมราษฎร์” (เช่นใน “ธรรมรัฐและธรรมราษฎร์กับองค์กรประชาคม” ของอมรา พงศาพิชญ์) หรือ “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” (ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้กันในทางกฎหมาย อันปรากฏอยู่ในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546)
อย่างไรก็ดี การนำหลักการจัดการปกครองมาใช้ในสังคมไทยกลับพบกับปัญหามากมาย ทั้งเรื่องการทำให้หลักการดังที่กล่าวมาเป็นการปฏิบัติจริง และปัญหาในระบบราชการ ไปจนถึงปัญหาการใช้คำที่สับสนไปมาระหว่างคำว่า “การจัดการปกครอง” คือ governance แต่ในความเข้าใจของสังคมไทยจะรวมถึง “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” และ “ธรรมาภิบาล” ซึ่งตามคำศัพท์คือคำว่า good governance แต่ตามความหมายสากล good governance เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ governance เท่านั้น ความสับสนนี้จึงเป็นเรื่องของการใช้คำ และปัญหาในเรื่องการแปลว่า “ธรรมาภิบาล” ทำให้สับสนว่าเกี่ยวข้องกับธรรมะหรือหลักศาสนาพุทธหรือไม่ ทั้งที่ความจริงแล้วหลักการจัดการปกครองแทบจะไม่มีส่วนใดเกี่ยวกับหลักศาสนาเลย
คำว่าการจัดการปกครองที่ใช้กันอยู่ในสังคมไทยมีปัญหาในสองด้าน กล่าวคือ ด้านแรกเป็นปัญหาของการแปลที่สับสบระหว่างคำว่าการจัดการปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และธรรมาภิบาล ส่วนปัญหาอีกด้านหนึ่งซึ่งสำคัญกว่า คือ ปัญหาในการนำไปปฏิบัติจริง การจัดการปกครองแทบจะยังไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทยที่รวมศูนย์อำนาจ ขาดความโปร่งใส ไม่มีกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุล และท้องถิ่นยังไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง
แหล่งข้อมูล : wikipedia.org
การจัดการปกครอง (Governance) เป็นคำศัพท์ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงบทบาทของรัฐช่วงทศวรรษ 1990 เป็นการวางแนวทางและจัดความสัมพันธ์ในการปกครองของภาครัฐใหม่เพื่อให้ระบบการเมืองเปิดกว้าง และกระจายอำนาจมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ตัวแสดงนอกภาครัฐสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองมากยิ่งขึ้น และเปลี่ยนแปลงจากอำนาจที่รวมศูนย์อยู่ที่รัฐบาล ให้กระจายออกไปตามท้องถิ่นต่างๆ เพื่อให้เกิดองค์กรท้องถิ่นที่ปกครองตัวเอง และลดขนาดของภาครัฐให้เล็กลงเพื่อความคล่องตัว (เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา, 2550: 134-135
การวางหลักการจัดการปกครอง (governance) เข้ามาแทนที่แนวคิดว่าด้วยการปกครอง (government) โดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ 6 ด้านหลักคือ
การจัดการปกครองเป็นหลักการที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยในชื่อ “ธรรมาภิบาล” (good governance) หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2539-40 จากข้อบังคับในการกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) และนำมาใช้ปฏิบัติผ่านกฎหมายหลักคือรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี พ.ศ. 2540 โดยต้องการให้ภาครัฐบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้จากองค์กรอิสระ และเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน อีกทั้งยังต้องส่งเสริมการกระจายอำนาจด้วย
ความเข้าใจที่แตกต่างกันของคำว่าธรรมาภิบาล สามารถแยกได้เป็น 3 สำนัก คือ
ธรรมาภิบาลขององค์การระหว่างประเทศ ในฐานะเครื่องมือในการพัฒนา ทั้งการมีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ สิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม การพัฒนาอย่างยั่งยืน และหลักตลาดเสรี
ธรรมาภิบาลของนักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ มองว่าเป็นแนวทางของรัฐในศตวรรษ 21 ที่จำเป็นต้องทำงานในแนวระนาบมากขึ้น ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย และปฏิสัมพันธ์กับภาคส่วนทางธุรกิจและสังคมมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการทำงานร่วมกันและการตรวจสอบ
ธรรมาภิบาลในฐานะมิติด้านการบริหาร จะเน้นในเรื่องของความรับผิดชอบต่อบรรษัทของผู้บริหาร ที่จำเป็นต้องมีให้กับผู้ถือหุ้น นิยามลักษณะนี้หลายครั้งเชื่อมโยงกับคำว่าบรรษัทภิบาล (Corporate governance)[3]
การจัดการปกครองที่ดี (good governance) หรือ ธรรมาภิบาล ที่ถูกแปลมาในภาษาไทยนั้นอาจถูกเรียกแตกต่างกันออกไปว่าเป็น “ธรรมารัฐ” (เช่นใน “ธรรมรัฐแห่งชาติ” ของธีรยุทธ บุญมี หรือ “ธรรมรัฐกับสังคมไทย” ของอานันท์ ปันยารชุน หรือ “แนวคิดและวาทกรรมว่าด้วยธรรมรัฐแห่งชาติ” ของนฤมล ทับจุมพล) หรือ “ธรรมราษฎร์” (เช่นใน “ธรรมรัฐและธรรมราษฎร์กับองค์กรประชาคม” ของอมรา พงศาพิชญ์) หรือ “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” (ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้กันในทางกฎหมาย อันปรากฏอยู่ในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546)
อย่างไรก็ดี การนำหลักการจัดการปกครองมาใช้ในสังคมไทยกลับพบกับปัญหามากมาย ทั้งเรื่องการทำให้หลักการดังที่กล่าวมาเป็นการปฏิบัติจริง และปัญหาในระบบราชการ ไปจนถึงปัญหาการใช้คำที่สับสนไปมาระหว่างคำว่า “การจัดการปกครอง” คือ governance แต่ในความเข้าใจของสังคมไทยจะรวมถึง “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” และ “ธรรมาภิบาล” ซึ่งตามคำศัพท์คือคำว่า good governance แต่ตามความหมายสากล good governance เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ governance เท่านั้น ความสับสนนี้จึงเป็นเรื่องของการใช้คำ และปัญหาในเรื่องการแปลว่า “ธรรมาภิบาล” ทำให้สับสนว่าเกี่ยวข้องกับธรรมะหรือหลักศาสนาพุทธหรือไม่ ทั้งที่ความจริงแล้วหลักการจัดการปกครองแทบจะไม่มีส่วนใดเกี่ยวกับหลักศาสนาเลย
คำว่าการจัดการปกครองที่ใช้กันอยู่ในสังคมไทยมีปัญหาในสองด้าน กล่าวคือ ด้านแรกเป็นปัญหาของการแปลที่สับสบระหว่างคำว่าการจัดการปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และธรรมาภิบาล ส่วนปัญหาอีกด้านหนึ่งซึ่งสำคัญกว่า คือ ปัญหาในการนำไปปฏิบัติจริง การจัดการปกครองแทบจะยังไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทยที่รวมศูนย์อำนาจ ขาดความโปร่งใส ไม่มีกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุล และท้องถิ่นยังไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง
แหล่งข้อมูล : wikipedia.org
โรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ปัจจุบันเปิดสอน หลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย ห้องเรียนทั่วไป, โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์, ห้องเรียนวิทยาศาสตร์พลังสิบ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยแผนการเรียน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ , โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ , ห้องเรียนวิทยาศาสตร์พลังสิบ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์, แผนการเรียนภาษาอังกฤษ, แผนการเรียนภาษาจีน, แผนการเรียนภาษาญี่ปุ่น
โรงเรียนน้ำพองศึกษา
โรงเรียนน้ำพองศึกษา มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล วิชาการเลิศล้ำ
ก้าวด้านวัตกรรมมีคุณธรรม และทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21
043-431701
วันอังคารที่ 10 มิถุนายน 2568 โรงเรียนน้ำพองศึกษา
วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน 2568 นายมนัส แก้วจันทร์ นายกสมาคม
วันที่ 3 มิถุนายน 2568 คณะผู้บริหาร ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 นายธนโชติ ศรีธรราษฎร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนน้ำพองศึกษา
ตัวอย่างข้อมูลในการนำเสนอเนื้อหาหรือบทความ Article ท่านสามารถลบหรือทำการแก้ไขเนื้อหาหรือบทความนี้ เพื่อเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงกำหนดรูปภาพแรกในแท็บ Images and Links เพื่อแสดงรูปภาพเริ่มต้นของบทความที่ Intro image
ตัวอย่างข้อมูลในการนำเสนอเนื้อหาหรือบทความ Article ท่านสามารถลบหรือทำการแก้ไขเนื้อหาหรือบทความนี้ เพื่อเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงกำหนดรูปภาพแรกในแท็บ Images and Links เพื่อแสดงรูปภาพเริ่มต้นของบทความที่ Intro image
ตัวอย่างข้อมูลในการนำเสนอเนื้อหาหรือบทความ Article ท่านสามารถลบหรือทำการแก้ไขเนื้อหาหรือบทความนี้ เพื่อเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงกำหนดรูปภาพแรกในแท็บ Images and Links เพื่อแสดงรูปภาพเริ่มต้นของบทความที่ Intro image
ตัวอย่างข้อมูลในการนำเสนอเนื้อหาหรือบทความ Article ท่านสามารถลบหรือทำการแก้ไขเนื้อหาหรือบทความนี้ เพื่อเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงกำหนดรูปภาพแรกในแท็บ Images and Links เพื่อแสดงรูปภาพเริ่มต้นของบทความที่ Intro image
ตัวอย่างข้อมูลในการนำเสนอเนื้อหาหรือบทความ Article ท่านสามารถลบหรือทำการแก้ไขเนื้อหาหรือบทความนี้ เพื่อเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงกำหนดรูปภาพแรกในแท็บ Images and Links เพื่อแสดงรูปภาพเริ่มต้นของบทความที่ Intro image
ตัวอย่างข้อมูลในการนำเสนอเนื้อหาหรือบทความ Article ท่านสามารถลบหรือทำการแก้ไขเนื้อหาหรือบทความนี้ เพื่อเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงกำหนดรูปภาพแรกในแท็บ Images and Links เพื่อแสดงรูปภาพเริ่มต้นของบทความที่ Intro image
⇒ระบบ Teacher Rotation System : TRS
⇒google site ว. PA บุคลากร น.ศ.
⇒รายชื่อนักเรียนปีการศึกษา 2568
⇒ ระบบขอไปราชการ
⇒ ระบบรายงานผลการพัฒนาตนเอง
⇒ กลุ่มบริหารงาน,กลุ่มสาระฯ หน่วยงานภายในโรงเรียนที่มีความประสงค์จะแจ้งข่าวสาร ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ โปรดติดต่อคุณเรืองสิทธิ์ นามกอง
มี 830 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์